บทคัดย่อ (THAI) :
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการค้นคว้าอิสระในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษากระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) ในการรับมือกับวิกฤตโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นแนวทางการเตรียมความพร้อม การดำเนินงานการตอบสนอง และการติดตามผลก่อน ระหว่าง และหลังเกิดการระบาดของโรค โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนรับมือ
ผลการศึกษาพบว่าท่าอากาศยานเชียงใหม่ไม่ได้นำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจออกมาใช้งาน เนื่องจากปัจจัยการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่ทำให้ธุรกิจไม่สามารถสร้างรายได้ต่อไปได้ เป็นปัจจัยที่นอกเหนือการคาดการและแผนการที่วางไว้ แต่ถึงกระนั้นท่าอากาศยานเชียงใหม่เอง ได้มีการตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างยอดเยี่ยมโดยใช้แผนการเฉพาะเหตุของฝ่ายงานแต่ละฝ่ายภายในองค์กร ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นออกมาได้อย่างดีเยี่ยม โดยประเมินได้จากการตอบสนองต่อการให้บริการผู้โดยสารหลังจากรัฐบาลได้ประกาศให้โรคระบาดโควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น และอนุญาตให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตแบบระบบวิถีชีวิตปกติใหม่ ซึ่งท่าอากาศยานเชียงใหม่ ได้ให้บริการภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ได้อย่างไหลลื่น ไม่ติดขัด ในสภาพแวดล้อมที่มีผู้โดยสารสูงขึ้นกว่าแต่ก่อน อีกทั้งในระหว่างที่มีการประกาศปิดประเทศซึ่งส่งผลกระทบต่อทางด้านรายได้ต่อบริษัท เนื่องจากไม่มีการมาใช้บริการของผู้โดยสารและสายการบิน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ได้นำวิกฤตนี้มาเป็นโอกาสในการปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในท่าอากาศยาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับผู้โดยสารในระบบวิถีชีวิตปกติใหม่
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ การที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่จำเป็นต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการเกิดเหตุการณ์ที่อาจทำให้สูญเสียรายได้ โดยคำนวณถึงปัจจัยภายนอกด้วยเช่นกัน เนื่องจากแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ผ่านมา มักจะมองเพียงแค่ปัญหาและปัจจัยภายในที่ก่อให้เกิดปัญหาในการเกิดความหยุดชะงักทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท แต่จากการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าปัจจัยภายในไม่มีการเสียหาย แต่ปัจจัยภายนอกสามารถสร้างเหตุการณ์การหยุดชะงักทางธุรกิจได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ทางท่าอากาศยานเชียงใหม่ต้องมีแผนการรับมือกับปัจจัยภายนอกในลักษณะต่างๆ ต่อไปในอนาคตและท่าอากาศยานเชียงใหม่เองอาจจำเป็นต้องมีตำแหน่งและส่วนงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจโดยเฉพาะ
คำสำคัญ: โรคระบาดอุบัติใหม่, การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ, วิถีชีวิตปกติใหม่
Abstract :
In the Political Economy program, this study is a component of an independent research project named “Responsive Guidelines Towards Emerging Infectious Disease for Chiang Mai International Airport’s Continuous Business.”
The goal is to investigate how Chiang Mai International Airport's Business Continuity Management (BCM) procedure handles emergencies brought on by recently discovered transmissible diseases. The research has a strong emphasis on operations, monitoring, reaction, and readiness before, during, and following an outbreak. Executives and staff members engaged in crisis management planning are surveyed and interviewed as part of the study process.
The findings reveal that Chiang Mai International Airport did not formally implement its Business Continuity Plan (BCP) during the crisis. This was due to the circumstances that resulted in income loss were unforeseen and outside the purview of the airport's pre-existing plans. Nevertheless, the airport effectively responded to the situation through department-specific contingency measures, leading to outstanding operational outcomes. This effectiveness was evident in the airport’s seamless service provision following the government’s declaration of COVID-19 as an endemic disease, allowing people to resume daily life under the new normal. The airport effectively adjusted its services without experiencing any major interruptions, even though the number of passengers increased significantly.
Additionally, Chiang Mai International Airport took advantage of the international border closures to upgrade and develop its infrastructure to be ready for operations under the new normal. This was done during a time when revenue was negatively impacted by the absence of passengers and airline operations.
This study recommends that Chiang Mai International Airport conduct feasibility assessments on potential external risks that could lead to revenue loss. Previous business continuity planning primarily focused on internal disruptions affecting business operations and financial stability. The COVID-19 pandemic, however, demonstrated that even when internal factors remained stable, external factors could still cause significant business interruptions. In light of this, Chiang Mai International Airport has to create plans to deal with external risk factors going forward. Furthermore, the airport may need to establish a dedicated business continuity management unit responsible for ensuring long-term resilience against unforeseen crises.
Keywords: Emerging Infectious Disease, Business Continuity Management, New Normal