บริการวิชาการเพื่อชุมชน คณะสังคมศาสตร์
Academic Serviceโครงการยกระดับ “เกษตรกร” รุ่นใหม่ สู่ “ผู้ประกอบการสังคม”
1) รศ.ดร.อรัญญา ศิริผล (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
aranya.s@cmu.ac.th
2) อ.ดร.วาทินี ถาวรธรรม (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
watinee.thavorntam@cmu.ac.th
3) รศ.ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
thapin.p@cmu.ac.th
4) ผศ.ดร.อารตี อยุทธคร (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
arratee.a@cmu.ac.th
5) อ.ดร.ชวิศ ศรีมณี (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
chawis.s@cmu.ac.th
อบรมกลุ่มเกษตรกรที่สนใจนำผลผลิตการเกษตรเข้าสู่กระบวนการแปรรูป พัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งตกผลึกที่ การแปรรูปพลัมแดงอบแห้งและแยมพลัมแดง ส่วนลูกพลับพัฒนาบรรจุภัณฑ์แบบสูญญากาศยืดอายุการถึงมือลูกค้า พร้อมออกแบบโลโก้และ story ลูกพลับ เมื่อผลิตเสร็จสิ้นทดลองขายผ่านช่องทางออนไลน์
หลังอบรม เกษตกรบางบ้านทดลองนำไปผลิตเองที่บ้าน
ขั้นตอนการเก็บข้อมูลในพื้นที่ภาคสนาม ผ่านการสัมภาษณ์ การลงมือทำยาสมุนไพร การเดินสำรวจเพื่อปักหมุดพิกัดภูมิศาสตร์ สำหรับการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ว่าด้วย เส้นทางท่องเที่ยวป่า อนุรักษ์ถิ่นกำเนิดสมุนไพร แผนที่วนเกษตร แผนที่สถานที่สำคัญในชุมชน
หมายถึง การเลือกเปิดรับแขกผู้มาเยือนมากกว่าจะรองรับทุกกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ หรือกลุ่มแวะเวียนมาทั่วไป ทั้งนี้ เพราะชุมชนมองว่ารายได้หลักของชุมชนมาจากชีวิตการเกษตรที่ต้องทำงานทุกวัน ไม่อาจทำงานรับแขกตลอดเวลา ขณะที่การท่องเที่ยวเป็นเพียงรายได้เสริม และที่สำคัญ การเปิดบ้านรับแขก เหตุผลหลัก เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางให้คนภายนอกเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมของชุมชนชาติพันธุ์พื้นที่สูงร่วมกัน ซึ่งสามารถสนองตอบความต้องการและข้อจำกัดของทั้งสองฝ่ายได้
1) สามารถแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรที่ถูกปล่อยทิ้งเน่าเสีย ด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
2) ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ สามารถนำข้อมูลภูมิปัญญาวัฒนธรรมชาติพันธุ์มาใช้สนับสนุนการพัฒนาชุมชนในอนาคต
1) กลุ่มผู้นำชุมชนและเกษตรกรรุ่นใหม่บ้านป่าเกี๊ยะนำตัวอย่างต้นแบบผลิตภัณฑ์ไปขยายผลเป็นเศรษฐกิจชุมชนในปีต่อไป
2) กลุ่มผู้นำชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนชาติพันธุ์อาข่านำข้อมูลสารสนเทศไปขยายผลยื่นขอการสนับสนุนจากแหล่งทุนด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ