ชุมชนชาติพันธุ์กับเศรษฐกิจสีเขียว
วิดีทัศน์นี้แสดงรูปแบบการผลิตของชุมชนชาติพันธุ์ที่เผชิญแรงกดดันจากรัฐจนต้องเปลี่ยนจากไร่หมุนเวียน (รูปแบบหนึ่งของเศรษฐกิจสีเขียว)สู่การผลิตแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพด ซึ่งชุมชนตระหนักดีว่า การปลูกข้าวโพดได้ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นควันขนาดเล็ก อีกทั้งชุมชนก็เผชิญกับปัญหาสุขภาพ และสภาพดินที่เสื่อมเสียลง พร้อมทั้งตามด้วยหนี้สิน จึงหันมาสู่การผลิตแบบเศรษฐกิจสีเขียว ลดการใช้สารเคมี ดังกรณีตัวอย่างบ้านห้วยอีค่าง บ้านหนองเต่า บ้านเฮาะ และบ้านแม่จอนในโครงการวิจัย ชุมชนชาติพันธุ์กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและสุขภาวะสังคม (ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาติพันธุ์กับการจัดการไฟ(ป่า): ความมั่นคงทางอาหารและสุขภาวะสังคม ปีที่ 2) อย่างไรก็ตาม ชุมชนก็ยังเผชิญกับปัญหาสิทธิในที่ดินทำกิน และนโยบายรัฐที่รวมศูนย์การจัดการที่ดิน ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจสีเขียวและการลดปัญหาฝุ่นควันขนาดเล็กจะเป็นจริงได้ ควรสร้างทางเลือกเศรษฐกิจสีเขียวและรัฐควรจะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายด้านที่ดินด้วย
ส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย ชุมชนชาติพันธุ์กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและสุขภาวะสังคม (ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาติพันธุ์กับการจัดการไฟ(ป่า): ความมั่นคงทางอาหารและสุขภาวะสังคม ปีที่ 2)
ร่วมผลิตโดยศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับชาวบ้านห้วยอีค่าง ชาวบ้านหนองเต่า ชาวบ้านเฮาะ และชาวบ้านแม่จอน