Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
เกี่ยวกับคณะ
ข้อมูลพื้นฐานคณะ
จดหมายเหตุ คณะสังคมศาสตร์
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมาย/ค่านิยม
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการอำนวยการ
คณะผู้บริหาร
คณาจารย์
บุคลากรสนับสนุน
การรับเข้าศึกษาต่อ
ปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาเซียนศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
บัณฑิตศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษาและเพศภาวะศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชา
ภาควิชาภูมิศาสตร์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา
ภาควิชาสตรีศึกษา
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ
วิจัยและบริการวิชาการ
ศูนย์วิจัย
โครงการวิจัย
บริการวิชาการ
รายงานการวิจัย
พบปะนักวิจัย
Global Connect
ASEAN Travelling
Student Exchange
Academic Exchange
Field School
Collaborative Research
e-Service
บริการบุคคลภายนอก
บริการของเรา
สำหรับนักศึกษา
ข่าวประชาสัมพันธ์สำหรับนักศึกษา
ประกาศ/เอกสาร/แบบฟอร์มสำหรับนักศึกษา
สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่
ประกาศ/เอกสาร/แบบฟอร์มสำหรับอาจารย์
ประกาศ/เอกสาร/แบบฟอร์มสำหรับเจ้าหน้าที่
คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติงาน
สำหรับศิษย์เก่า
ข่าวสารศิษย์เก่า
ระบบ e-Donation
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลสาธารณะ
ข้อมูลสาธารณะ ITA
รายงานประจำปี
รายงานส่งมอบ
วิชาการเพื่อสังคม
วารสารสังคมศาสตร์
วารสารจุดยืน
เครือข่ายบทความทางเศรษฐศาสตร์การเมือง
สิ่งพิมพ์ออนไลน์
ระบบจำหน่ายหนังสือออนไลน์ คณะสังคมศาสตร์
×
ค้นหา
ไทย
English
Hello
Let's be friends.
Get latest update for our trusted applications
subscribe
21 มี.ค. 2565
นางสาวปางประทาน แสวงนิล นางสาววรารักษ์ วัฒนพันธ์ และหน่วยประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร คณะสังคมศาสตร์
โครงการอบรม “การใช้แนวคิดการประกอบการเพื่อแก้ปัญหาสังคม” Workshop on “Entrepreneurial Approach Usage in solving social problem issues”
เมื่อวันที่ 14 – 15 มีนาคม พ.ศ.2565 หน่วยงานพัฒนาคุณภาพนักศึกษา งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา คณะสังคมศาสตร์ และบริษัทฟาร์มโตะ (FARMTO) หน่วยงานภาคเอกชนด้านการเกษตร จัดกิจกรรม 24 – hour onsite hackathon ณ โรงแรมเบลล์ วิลล่า รีสอร์ท เพื่อให้นักศึกษาเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นในการทำงาน/ทำธุรกิจ ผ่านการเรียนรู้แนวคิดการประกอบการ และยังช่วยให้นักศึกษาทดลองเปิดกว้างทางความคิด แสดงความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาทางสังคม
การอบรมกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีนักศึกษาจากคณะสังคมศาสตร์ มช. ชั้นปีที่ 1 - 3 จำนวน 20 คน ที่ได้เข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก จะได้มีโอกาสในการทำความรู้จักกับวิทยากรจากฟาร์มโตะ และเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มย่อย Workshop เพื่อเรียนรู้สถานการณ์จริงเกี่ยวกับการทำธุรกิจ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาให้ความรู้
สำหรับการอบรมกิจกรรมนอกสถานที่ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการอบรม การใช้แนวคิดการ ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาสังคม (Workshop on “Entrepreneurial Approach Usage in solving social problem issues)” ภายใต้ยุทธศาสตร์เชิงพันธกิจที่ 1 ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพ และทักษะ การเป็นพลเมืองโลกโดยมีกิจกรรมดังนี้
• วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 Pre-workshop / Project orientation : ผ่านโปรแกรมซูม
• วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 Online workshop / pre-proposal : ผ่านโปรแกรมซูม
• วันที่ 14-15 มีนาคม 2565 24-hour onsite hackathon ณ โรงแรมเบลล์ วิลล่า รีสอร์ท
ที่ผ่านมาในสังคมไทยทั่วไปและในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยไทยมีการขยายแนวคิดเรื่อง “ธุรกิจเพื่อสังคม” (Social Enterprise) ธุรกิจประเภทนี้มักเกิดขึ้นจากกลุ่มธรุกิจสตาร์ทอัพ (Startup) หรือกลุ่มผู้ริเริ่มคิดโจทย์ปัญหาสังคมที่สนใจ แล้วมองหาทางออกด้วยการนำระบบเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ด้านต่างๆ รวมทั้งระบบการบริหารจัดการธุรกิจมาใช้แก้ไขปัญหาสังคมที่กลุ่มสนใจ โดยอาศัยเงินทุนจากกลุ่มนักลงทุน (Angel Venture, investors) ที่พร้อมและมองว่าคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อแก้ปัญหา กลุ่มธรุกิจสตาร์ทอัพจำนวนมากเมื่อตั้งตัวได้ก็ผันตัวจัดตั้งองค์กรทางธุรกิจที่อาจจะลงหลักปักฐานได้ แล้วดำเนินกิจกรรมประกอบการแก้ไขปัญหาสังคมไปพร้อมๆ กับการทำธุรกิจที่ได้กำไรและคืนให้สังคมอย่างเป็นธรรมต่อเนื่องและยั่งยืน
กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสตาร์ทอัพ ผู้เริ่มต้น หรือกลุ่มธุรกิจที่ตั้งตัวได้เหล่านี้ได้นำหลักการแนวคิด “การประกอบการ” (Entrepreneurial Approach) ไปปรับใช้และปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในเวทีวิชาการ ศาสตร์ด้านการบริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์จุลภาค และ/หรือเวทีเอกชนด้านการประกอบการการค้า ธุรกิจและการบริหารจัดการทางธุรกิจเป็นหลัก ขณะที่ในวงวิชาการทางสังคมศาสตร์ แนวคิดดังกล่าวยังถูกนำมาปรับใช้ในทางปฏิบัติไม่มากนัก ทั้งๆ ที่หลักการพื้นฐานแนวคิดดังกล่าว (เช่น การวิเคราะห์ปัญหาสังคม การแก้ปัญหาเชิงรูปธรรม ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการนำเสนอ ทักษะการจัดการ เป็นต้น) ไม่เพียงเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ประกอบการเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ “ผู้เรียน” นำหลักการพื้นฐานเหล่านี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ที่ซึ่งชีวิตเราปัจจุบัน เทคโนโลยี ความทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์และทุนนิยมเข้มข้นได้สร้างความผกผันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าในอดีตอย่างมาก
ซึ่งโครงการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างคณะสังคมศาสตร์กับบริษัทฟาร์มโตะ (FARMTO) หน่วยงานจากภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ตรงจากการเคยเป็นกลุ่มสตาร์ทอัพ คิดโจทย์แก้ไขปัญหาด้านการเกษตรในชุมชนชนบท จนปัจจุบันสามารถตั้งบริษัทเอกชน รูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ การทำวิจัยและการพัฒนา research and development และระบบการบริหารจัดการ มาดำเนินการในบริษัทที่ได้กำไรแบบพอเพียงไปพร้อมกับการคืนให้สังคมอย่างเป็นรูปธรรม
กิจกรรมการจัดโครงการนี้ เน้นฝึกทักษะด้านต่างๆ ที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ เช่น 1.ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving skill) 2.ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creativity skill) 3.ทักษะด้านการเงิน (Financial literacy) วิธีคิดเรื่องความคุ้มค่าของมูลค่า/คุณค่า 4.ทักษะการนำเสนอ (Presentation skill) นักศึกษาจะได้ทดลองฝึกปฏิบัติ เพิ่มพูนทักษะด้านต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการมีมุมมองในเชิงวิพากษ์แนวคิดกระแสทุนนิยมประกอบการไปด้วย
กิจกรรมเสริมทักษะ
1030 Views
ภาพประกอบ
Share
Tweet
Email
Line