Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
เกี่ยวกับคณะ
ข้อมูลพื้นฐานคณะ
จดหมายเหตุ คณะสังคมศาสตร์
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมาย/ค่านิยม
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการอำนวยการ
คณะผู้บริหาร
คณาจารย์
บุคลากรสนับสนุน
การรับเข้าศึกษาต่อ
ปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาเซียนศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
บัณฑิตศึกษา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษาและเพศภาวะศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชา
ภาควิชาภูมิศาสตร์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา
ภาควิชาสตรีศึกษา
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ
วิจัยและบริการวิชาการ
ศูนย์วิจัย
โครงการวิจัย
บริการวิชาการ
รายงานการวิจัย
พบปะนักวิจัย
Global Connect
ASEAN Travelling
Student Exchange
Academic Exchange
Field School
Collaborative Research
e-Service
บริการบุคคลภายนอก
บริการของเรา
สำหรับนักศึกษา
ข่าวประชาสัมพันธ์สำหรับนักศึกษา
ประกาศ/เอกสาร/แบบฟอร์มสำหรับนักศึกษา
สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่
ประกาศ/เอกสาร/แบบฟอร์มสำหรับอาจารย์
ประกาศ/เอกสาร/แบบฟอร์มสำหรับเจ้าหน้าที่
คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติงาน
สำหรับศิษย์เก่า
ข่าวสารศิษย์เก่า
ระบบ e-Donation
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลสาธารณะ
ข้อมูลสาธารณะ ITA
รายงานประจำปี
รายงานส่งมอบ
วิชาการเพื่อสังคม
วารสารสังคมศาสตร์
วารสารจุดยืน
เครือข่ายบทความทางเศรษฐศาสตร์การเมือง
สิ่งพิมพ์ออนไลน์
ระบบจำหน่ายหนังสือออนไลน์ คณะสังคมศาสตร์
×
ค้นหา
ไทย
English
Hello
Let's be friends.
Get latest update for our trusted applications
subscribe
8 ก.พ. 2564
CMU Model สร้างชุมชนต้นแบบ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและแก้ปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืน
หมอกควันไฟป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่มีปริมาณสูงกว่าระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด และเพื่อการแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้เกิดโครงการ CMU Model ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เน้นแนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน โดยยกบ้านป่าตึงงาม ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่นำร่องและเป็นโมเดลต้นแบบ เพื่อการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ดินน้ำป่าแบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมการเกษตร และต่อยอดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดการเผา ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ร่วมแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าอย่างยั่งยืน
CMU Model เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการและนวัตกรรมในมิติต่างๆ โดยได้จัดตั้งคณะทำงานที่ได้ความร่วมมือจากหลายคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์คณะเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ร่วมกับอุทยานแห่งชาติฯ โดยมีเป้าหมายในการมุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ได้ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางการบริหารจัดการป่าอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมภายในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพสู่การทำงานจริงเชิงพื้นที่ มีการจัดประชุมวางแผนประจำเดือนร่วมกับชาวบ้าน สร้างความเข้าใจและผลักดันการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศภายในอุทยานฯป่า รวมถึงการติดตามเฝ้าระวังการเกิดหมอกควันได้ทันสถานการณ์ ทำแผนจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนป่าตึงงาม ในการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในชุมชน อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดพื้นที่เรียนรู้ชุมชนกับป่า การจัดกิจกรรมปลูกไผ่เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าและสร้างฝายชะลอน้ำ ตลอดจนสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ คนในชุมชน และชุมชนอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาภายใต้กรอบแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรของชุมชนพื้นที่นำร่อง ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ ภายใต้ชื่อ Zhakara ภูมิปัญญาชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่เกิดการผสมผสานกับงานออกแบบสมัยใหม่ทำให้งานมีคุณค่า เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ยกระดับคุณภาพชีวิตจากสร้างอาชีพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและสามารถนำมาใช้ได้จริง โดยได้นำมาจัดแสดงในงานนวัตกรรมและจัดจำหน่ายสินค้า Lanna Expo 2020
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และหน่วยงานทุกภาคส่วน มุ่งมั่นที่จะพัฒนา CMU Model ให้ประสบผลสำเร็จ เป็นต้นแบบชุดองค์ความรู้ในการขยายผลไปยังพื้นที่และชุมชนอื่นๆ เพื่อการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงความอุดมสมบูรณ์ และสามารถอำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนที่อยู่กับป่าให้สามารถดำรงชีพตามวิถีชีวิตดั้งเดิมและร่วมมือในการดูแลรักษาป่าไปพร้อมกัน
1207 Views
ภาพประกอบ
Share
Tweet
Email
Line