Hello

Let's be friends.
Get latest update for our trusted applications

เครือข่ายบทความทางเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะสังคมศาสตร์

Political Economy
หัวข้อ (THAI) :
“เชียงใหม่โมเดล” กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในชุมชนบ้านแม่หอยตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

หัวข้อ (ENG) :
“Chiang Mai Model” on Forest Fire and Haze Prevention in Mae Hoi Village, Ban Luang Sub-district, Chom Thong District, Chiang Mai Province

ผู้แต่ง :
สุทธิชัย เหมือนสุทธิวงษ์

Issue Date :
18 เมษายน 2565

บทคัดย่อ (THAI) :
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ภายใต้ แนวคิด “เชียงใหม่โมเดล” เพื่อศึกษามาตรการในการจัดการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันที่กำหนดโดย หน่วยงานต่างๆ และประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านแม่หอย เพื่อศึกษาบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก ตัวแทนภาคหน่วยงานและภาคประชาชน ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดเชียงใหม่โมเดล ถูกกำหนดขึ้นในปี 2564 เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตไฟป่าและฝุ่นควันในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ลดจุดความร้อนและพื้นที่เผาไหม้ไม่ต่ำกว่า 25% หลังฤดูไฟป่าสิ้นสุด พบว่า เกิดผลสำเร็จของการดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จุดความร้อนได้ลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน อีกทั้งปัจจัยร่วมคือสภาพอากาศแปรปรวนส่งผลให้ฝนตกเร็ว ซึ่งมีส่วนช่วยให้จุดความร้อนลดลงได้อย่างมาก ต่างจากปีที่ 2563 ที่ผ่านมาสภาพอากาศแห้งแล้ง
คำสำคัญ : เชียงใหม่โมเดล, ปัญหาหมอกควัน, ไฟป่า, บทบาทของประชาชน, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ชุมชนบ้านแม่หอย

Abstract :
This qualitative research aimed to investigate the plan to solve forest fire and haze problems under the concept “Chiang Mai Model”, the measure in managing forest fire and haze prevention, and roles and participation of Mae Hoi village people in forest fire and haze prevention. The data were collected using in-depth interviews of three representatives of the agencies. The findings showed that the “Chiang Mai Model” concept was set up to solve the wildfire and smoke crisis in Chiang Mai in 2021, with a collaboration between government agencies, the local sector, the private sector, and the public sector. This model focuses on Academic Fire Management for the reduction of hotspots from combustion at least 25%. After the end of the wildfire season, this has resulted in the successful implementation of forest fire and smog solutions that successfully achieved the goal of reducing hot spots. It was found that the hot spots decreased significantly compared in 2020 with a collaboration between government agencies, the local sector, the private sector, and the public sector. In addition, the common factor in 2021 was the volatile weather conditions, resulting in pre-season rainfall that was different from the dry weather in 2020. The rapid rainfall has greatly contributed to the reduction of heat points.
Key word: Chiang Mai Model. Haze Problem, Forest Fire, Roles of People, Participation of People, Mae Hoi village

บทความ :