บริการวิชาการเพื่อชุมชน คณะสังคมศาสตร์
Academic Serviceระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (15 มีนาคม 66 - 14 มีนาคม 67)
1) ศ.ดร.อรัญญา ศิริผล (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
aranya.s@cmu.ac.th
2) อ.ดร.ชวิศ ศรีมณี (ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
chawis.s@cmu.ac.th
3) อ.ดร.ศักดิ์ดา หอมหวน (ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
sakda.homhuan@cmu.ac.th
4) รศ.ดร.วราภรณ์ บุญเชียง (คณะสาธารณสุขศาสตร์)
ร่วมกับ เทศบาลตำบลเวียงยอง รพ.สต.เวียงยอง และชมรมผู้สูงอายุเวียงยอง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน
คณะสังคมศาสตร์ โดยรศ.ดร.อรัญญา ศิริผล หัวหน้าโครงการและทีมวิจัยวิชาการและทีมวิจัยท้องถิ่นข้างต้นร่วมกันพัฒนาแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่องค์กรท้องถิ่นในการเพิ่มประสิทิภาพการให้บริการสุขภาพและสาธารณะแก่คนในชุมชน
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้ร่วมกันทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิธีวิจัยแบบ “รังสรรค์ร่วม” (Co-Creation) ที่โจทย์มาจากชุมชน ให้มีวิชาการเข้าไปหนุนเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการขององค์กรท้องถิ่น มีการออกแบบ 3 โปรแกรมประยุกต์ ระบบฐานข้อมูลเชื่อมต่อ และออกแบบระบบปฏิบัติการให้สอดคล้องกับการใช้งานครบวงจร ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งาน และติดตามผลความคืบหน้าการใช้งานดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันสถานการณ์ แม่นยำตอบโจทย์การให้บริการที่ดีขึ้น
1. ได้ 2 แอปพลิเคชัน (ฮับส่งโฮงยา ยืมคืนกายอุปกรณ์) ใช้เชื่อมต่อระบบปฏิบัติการให้บริการสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยและผู้มีภาวะพึ่งพิง
2. ได้ 1 โปรแกรมประยุกต์ระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศชุมชน (LGIA) ใช้เพิ่มขีดความสามารถการทำงานให้บริการสุขภาพและบริการสาธารณะของบุคลากร อปท. กองต่างๆ
3. ได้ 1 ระบบฐานข้อมูลประชากรเทศบาลตำบลพร้อมใช้กับ 3 โปรแกรมและการเก็บข้อมูลอื่นๆ ในอนาคต
4. ได้ระบบปฏิบัติการ (Workflow) การบริหารจัดการให้บริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น (กรณีบริการรถพยาบาลและยืมอุปกรณ์)
5. ได้นวัตกรท้องถิ่นประมาณ 10 คนใน 3 องค์กรท้องถิ่น (ทต. รพสต. ชมรมผู้สูงอายุ) ในการนำผลงานไปใช้ในองค์กร
1. องค์กรปกครองท้องถิ่นระดับตำบล (ทต.เวียงยอง) สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการสุขภาพและสาธารณะได้ไม่น้อยกว่า 10% จากระบบปฏิบัติการใหม่เชื่อมคน เทคโนโลยี
2. องค์กรปกครองท้องถิ่นระดับตำบล (ทต.เวียงยอง) สามารถลดค่าใช้จ่ายการให้บริการสุขภาพและสาธารณะได้ไม่น้อยกว่า 10% จากต้นทุนสูญเปล่าที่เคยทำงานซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองเวลาและทรัพยากร
3. ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยและผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย (ค่าเดินทาง/ค่าซื้ออุปกรณ์การแพทย์) ได้ไม่น้อยกว่า 10% และลดการเสียเวลาที่ต้องรอโดยไม่จำเป็น
1. ทต.เวียงยองสามารถใช้ 3 โปรแกรมประยุกต์ เป็น “ต้นแบบ” แสดงผลการเพิ่มขีดความสามารถการทำงานให้บริการสุขภาพและสาธารณะของบุคคลากรอปท. ได้
2. ทต.เวียงยอง สามารถใช้ระบบฐานข้อมูลประชากรเทศบาลตำบลในการเก็บ/เพิ่ม/จัดการทำงานเชิงข้อมูลอื่นๆ ได้ดีขึ้นในอนาคต
3. นวัตกรท้องถิ่น บุคลากรทต.เวียงยอง สามารถนำองค์ความรู้การใช้ประโยชน์ไปถ่ายทอดขยายผลให้แก่บุคคลากรในองค์กร และ/หรือข้ามองค์กรได้ในอนาคต