Hello

Let's be friends.
Get latest update for our trusted applications

บริการวิชาการเพื่อชุมชน คณะสังคมศาสตร์

Academic Service

โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากภูมิปัญญาชุมชนตำบลเวียงยอง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ภายใต้การรังสรรค์ร่วมภาคีเครือข่าย

ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจาก แผนงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (Tech Transfers to Community--- A9) ภายใต้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) (ระยะเวลา 25 ตค 66- 24 มีค 67)

ผู้ร่วมดำเนินโครงการ

1) ศ.ดร.อรัญญา ศิริผล (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
aranya.s@cmu.ac.th

2) ผศ.ดร.ภก.จักรพันธ์ จุลศรีไกวัล (ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

3) นายศิรเศรษฐ เนตรงาม (มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน)

      คณะสังคมศาสตร์ โดย รศ.ดร.อรัญญา ศิริผล หัวหน้าโครงการ ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน และชมรมผู้สูงอายุเวียงยอง จ.ลำพูน ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสมุนไพรของชุมชนตัวใหม่ ชื่อ “น้ำมันเหลืองเวียงยอง” หรือ “PhayaYong Relief” จากตำรับยาภูมิปัญญาคนยองเมืองลำพูน

ลักษณะกิจกรรมในโครงการ

      ในช่วง 5 เดือน ทำการอบรมผู้เข้าร่วมด้านการสกัดสมุนไพรด้วยวิธีการทางเภสัชฯ ประเมินและวิเคราะห์ค่าทางเคมี เรียนรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาด พร้อมเตรียมทดลองขายผ่านช่องทางออนไลน์และการออกร้านเทศกาลในเมืองลำพูนและต่างจังหวัด


กระบวนการทำงาน

เก็บสมุนไพร วัตถุดิบเพื่อเตรียมผลิต
ทดสอบทางเคมีโดยคณะเภสัช
ผู้นำชมรมผุ้สูงอายุและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมเรื่องการผลิตสมุนไพรจากต้นตำรับให้มีคุณภาพการใช้งานที่ดีขึ้น

ผู้นำชมรมฯ กลับมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชนที่สนใจ และเตรียมเป็นกลุ่มคนที่จะช่วยผลิตสินค้าในอนาคต

บริษัท MID Digital Media consultant และทีมงานคณะการสื่อสารมวลชน มช. อบรมการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (CBMC: Community Business Model Canvas) ให้แก่ชมรมผู้สูงอายุเวียงยอง ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

กระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์และ packaging


ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ (Output)

      1. ชุมชน โดยชมรมผู้สูงอายุเวียงยองได้รับ 1 ต้นแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดใหม่จำนวน 100 ขวด ออกแบบตามความต้องการผ่านการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี

      2. ชุมชนเวียงยองใช้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในการขยายผลการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลและสามารถขยายผลห่วงโซ่เศรษฐกิจ สร้างรายได้เสริมให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ/ผู้ผลิตและผู้ขาย

      3. สถาบันการศึกษาได้บริการรับใช้สังคมตามเจตจำนงของแผนพัฒนา มช.ระยะ 13 (2566-2570)

ประโยชน์ที่ได้รับ (Outcome)

เชิงคุณภาพ

      1. สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น

      2. สมาชิกชมรมผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจต่อภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยองผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง

      3. สถาบันการศึกษา มช.ได้รับชื่อเสียงจากการให้บริการวิชาการรับใช้สังคม ได้รับการยอมรับจากชุมชนมากขึ้น

ผลกระทบ (Impact)

เศรษฐกิจ

      • ชมรมผู้สูงอายุนำต้นแบบผลิตภัณฑ์ไปผลิตขาย สามารถมีสัดส่วนการตลาดน้ำมันเหลืองได้เพิ่มขึ้น 1 %

      • ผู้สูงอายุในชุมชนในกลุ่มผู้ผลิต ผู้จัดหาวัตถุดิบและผู้ขายจะมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น

สังคม

      • คนในชุมชนกลุ่มผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น รู้สึกถึงคุณค่าในการทำงานและมีรายได้

      • สามารถเผยแพร่ภูมิปัญญาพื้นบ้าน “ไทยอง” ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างชื่อเสียงให้แก่ชุมชนและตำบล

สิ่งแวดล้อม

      • ชมรมผู้สูงอายุสามารถพัฒนาพื้นที่รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์เป็น “พื้นที่สีเขียว”ปลูกสมุนไพรวัตถุดิบในการผลิตได้

      • ขยายผลการปลูกพืชสมุนไพรแบบออร์กานิคในพื้นที่ที่กว้างขึ้น

เว็บไซต์ที่เปิดขายผลิตภัณฑ์

หาซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ที่ ชมรมผู้สูงอายุตำบลเวียงยอง
239 ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน
โทร 095 1 483 138
FB: https://www.facebook.com/profile.php?id=100088988108854
       https://www.facebook.com/profile.php?id=100086117625382

ภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรน้ำมันเหลือง เตรียมพร้อมจะโฆษณาและจำหน่าย