บริการวิชาการเพื่อชุมชน คณะสังคมศาสตร์
Academic Serviceโครงการยกระดับ “เกษตรกร” รุ่นใหม่ สู่ “ผู้ประกอบการสังคม”
1) รศ.ดร.อรัญญา ศิริผล (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
aranya.s@cmu.ac.th
2) อ.ดร.วาทินี ถาวรธรรม (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
watinee.thavorntam@cmu.ac.th
โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก โครงการบริการวิชาการที่มีผลกระทบสูง หน่วยบริการวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มกราคม - ธันวาคม 2565)
ลักษณะโครงการเป็นการอบรมกลุ่มแม่บ้านและผู้เข้าร่วมคัดเลือกวัตถุดิบจากระบบไร่หมุนเวียนที่ต้องการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งตกผลึกกันที่ ข้าวพันธุ์พื้นบ้านปกากะญอ น้ำพริกห่อวอและถั่วหนูร้องไห้ เมื่อผลิตเสร็จสิ้นได้นำออกร้านขายในเวทีกิจกรรม ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากผู้เข้าร่วมงาน
1. เยาวชนและครัวเรือนเกษตรกร 15 คนได้รับทักษะความรู้ด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ การตลาดสร้างเรื่องราว และระบบการส่งขายในตลาด
2. ได้ 3 ต้นแบบผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (ข้าวพันธุ์ปกากะญอ ถั่วหนูร้องไห้ และน้ำพริกห่อวอ) พร้อมโลโก้ผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์แสดงเรื่องราว ทดลองขายในเวทีงานกิจกรรมวัฒนธรรม
3. ได้วิดีทัศน์ 2 เรื่อง ว่าด้วย 1) ทำไมปกากะญอต้องทำไร่หมุนเวียน และ 2) กระบวนการจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชนปกากะญอบ้านแม่คองซ้าย เพื่อใช้ในการทำความเข้าใจกับสาธารณะบนข้อขัดแย้งเรื่องคนกับป่า และใช้เผยแพร่เรื่องราวของชุมชน
1. ทำให้เกิดรายได้ในกลุ่มแม่บ้านและผู้เข้าร่วมจากการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้น 10% และมีเงินสะสมเข้ากองทุนหมู่บ้านเพิ่มประมาณ 10% ไว้ใช้หมุนเวียนจัดทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
2. สามารถสร้างสมดุลความมั่นคงทางอาหารกับรายได้หมุนเวียนในเศรษฐกิจครัวเรือน
1. ผู้นำชุมชนมีความสนใจพัฒนาโครงการต่อกับทีมงานวิจัยพหุศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. ผู้นำชุมชนได้รับแรงบันดาลใจจาก 3 ต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนที่นำร่อง จนเกิดการ “จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่คองซ้าย” ขึ้นหลังการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ประสบความสำเร็จ
3. หน่วยงานรัฐ ตลาดเกษตรอินทรีย์เห็นผลงาน 3 ต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้ให้โอกาสและเงินทุนสนับสนุนการทำงานต่อ และให้พื้นที่ตลาดในการวางของจำหน่าย