Hello

Let's be friends.
Get latest update for our trusted applications

บริการวิชาการเพื่อชุมชน คณะสังคมศาสตร์

Academic Service

โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยและสินค้าไทยในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชจีน : บทวิเคราะห์ข้อมูลและบริการวิชาการ

The potential Development of Thai Entrepreneurs and Thai Products in China’s E-Commerce: Data Analysis Research and Academic Service

ทีมงาน

1) รศ.ดร.อรัญญา ศิริผล (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
aranya.s@cmu.ac.th

2) อ.ดร.วาทินี ถาวรธรรม (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
watinee.thavorntam@cmu.ac.th

3) อ.ภากร กัทชลี (คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
pagon.g@cmu.ac.th

ที่ปรึกษา

1) รศ.ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
thapin.p@cmu.ac.th

2) ผศ.ดร.ก้องภู นิมานันท์ (คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
khongphu.n@cmu.ac.th

คู่ความร่วมมือ

ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะไทย-จีน (Thai-Chinese Intelligence Center-TCIC) ของ บริษัท เลเวลอัพโฮลดิ้ง จำกัด
levelupThailand คุณบรรณ ภุชงค์เจริญและคุณอิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร โทร:098-228-5998 FB:@levelupthailand Email:sales@levelupthailand.com และ Line:@levelupthailand

ที่มาของโครงการ

      งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากความร่วมมือทางวิชาการและบริการวิชาการของคณะสังคมศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ ร่วมกับศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะไทย-จีน (TCIC) ของบริษัทเลเวลอัพโอลดิ้ง ที่ซึ่งบริษัทได้จัดซื้อฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากแพลตฟอร์มรายใหญ่ของจีน เช่น Tmall และ Taobao จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และทำ dashboard การใช้งานที่สามารถนำมาวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มโอกาสสินค้าไทยในธุรกิจอีคอมเมิร์ชจีนข้ามแดน จากนั้น ทีมงานวิชาการได้นำข้อมูลจากฝ่ายเอกชนมาใช้ในเชิงวิเคราะห์

      มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและคาดการณ์สินค้าไทยและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้เท่าทันกระแสผู้บริโภคและธุรกิจอีคอมเมิร์ชจีนข้ามแดน 2) เพื่อนำข้อมูลวิเคราะห์และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแก่หน่วยงานรัฐ และใช้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบบริการวิชาการแก่ผู้ประกอบการไทย และ 3) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างส่วนวิชาการ ภาคเอกชนและภาครัฐในการขับเคลื่อนทักษะความรู้สู่สังคมการประกอบการไทย

      โครงการดำเนินการมาครบ 1 ปี ผ่านการให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และฐานข้อมูลจากคู่ความร่วมมือ คือ ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะไทย-จีน (TCIC) สรุปผลผลิต ผลลัพธ์ ดังนี้

ผลผลิต

      รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์และบทความเผยแพร่ในสื่อออนไลน์เว็บไซต์ จำนวน 4 บทความ แสดงข้อมูลที่มีประโยชน์ใช้สำหรับพัฒนาผู้ประกอบการไทยและสินค้าไทยกลุ่มเครื่องประทินผิว ในการหาช่องทางการแข่งขันในตลาดจีน และข้อเสนอเชิงนโยบายให้แก่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับการแข่งขันสินค้าประทินผิวไทย

บทความที่เผยแพร่

      1. แนะนำฐานข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์
      2. ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายสินค้าและระดับของร้านค้าในประเทศจีน
      3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณยอดขายสินค้าการค้าปลีกออนไลน์กับประเทศจีน
      4. บทวิเคราะห์สินค้าผลิตภัณฑ์ประทินผิวในตลาดอีคอมเมิร์ชจีน
      5. ข้อสังเกตสำหรับผู้ประกอบการไทย ในการแข่งขันหมวดสินค้าประทินผิวในตลาดอีคอมเมิร์ชจีน

ผลลัพธ์

      1. สามารถใช้ผลวิเคราะห์รูปแบบ ราคา การคาดการณ์พยากรณ์ศักยภาพสินค้าไทยและเงื่อนไขการซื้อสินค้าของคนจีนผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชจีนข้ามแดน ไปใช้ออกแบบสินค้าไทยโดดเด่นให้แข่งขันได้
      2. สามารถนำผลวิเคราะห์พยากรณ์สินค้าไทยและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องไปพัฒนา “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ส่งมอบแก่หน่วยงานรัฐใช้จัดการเชิงนโยบายการค้าระหว่างประเทศ หรือปรับปรุงให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยให้แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เว็บไซต์ของโครงการ

http://chinese-ecommerce.soc.cmu.ac.th/