เครือข่ายความร่วมมือ

  • ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะสังคมศาสตร์กับนานาชาติ




  • โครงการ/กิจกรรมความร่วมมือ



    คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานและองค์กรชั้นนำในระดับนานาชาติ โดยตลอดระยะเวลากว่า 55 ปีที่ผ่านมา

    คณะมีความร่วมมือและการทำงานทางวิชาการร่วมกับ
    เครือข่ายและชุมชนวิชาการทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกมาอย่างต่อเนื่อง

    โดยคณะมีการดำเนินโครงการความร่วมมือ
    กับต่างประเทศในหลากหลายกิจกรรมทางวิชาการ  

  • กิจกรรม Collaborative Online International Learning (COIL)   

    ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Sophia University



    คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) ร่วมกับ Department of Education, Faculty of Human Sciences, Sophia University ประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการออนไลน์ Collaborative Online International Learning (COIL)  ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้า ประสบการณ์ และการทำงานร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของทั้งสองสถาบันเป็นหลัก โดยมีหัวข้อหลัก คือ Covid19 ในมิติด้านผลกระทบทางสังคม และระเบียบวิธีวิจัยสังคมศาสตร์เชิงเปรียบเทียบ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2564 และ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของโรค Covid19 ทำความเข้าใจสภาพของผู้คนที่อยู่ในสภาพเปราะบางจากการแพร่ระบาดของ Covid19 และนโยบายภาครัฐต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค ในมิติด้านสังคมศาสตร์และการศึกษา สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีของทั้งสองสถาบัน โดยเฉพาะในด้านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแนวคิดและระเบียบวิธีวิทยาทางสังคมศาสตร์เพื่อแสวงหาความรู้ และทำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบ อันจะนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นผลงานทางวิขาการ ภายใต้การดูแลให้คำปรึกษาจากคณาจารย์ของทั้งสองสถาบัน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาของทั้งสองสถาบันได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน


    กิจกรรมนี้มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าร่วมทั้งหมด 30 คน ประกอบด้วย นักศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (BA in Education) Faculty of Human Sciences,  Sophia University   จำนวน 17 คน และนักศึกษาในหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรอาเซียนศึกษา และหลักสูตรสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 13 คน  โดยรูปแบบการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นการบรรยายพิเศษจากคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในประเด็นต่างๆ เช่น โรคระบาดวิทยาในมิติสังคมศาสตร์สุขภาพ ระเบียบวิธีวิจัย การเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ประเด็นสุขภาพและประเด็นอ่อนไหวกับความเสี่ยง การแบ่งกลุ่มดำเนินการวิจัย การเก็บข้อมูลภาคสนาม และนำเสนอผลงาน (พฤษภาคม – มิถุนายน 2564) ภายใต้การดูแลให้คำปรึกษาจากคณาจารย์ของสองสถาบัน โดยแบ่งเป็น 6 หัวข้อ คือ

         - Covid19 กับประสบการณ์การทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุข

         - Covid19 กับแรงงานข้ามชาติ

         - Covid19 กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น

         - Covid19 กับภูมิปัญญาและการตอบสนองของชุมชน

         - Covid19 กับนโยบายและอำนาจรัฐ และ

         - Covid19 กับประเด็นด้านการศึกษา และการพัฒนาผลงานสู่การเผยแพร่ต่อสาธารณะ (กรกฎาคม – กันยายน 2564)

    ข้อมูลเพิ่มเติม :

    โทรศัพท์ : 0 5394 3595
    อีเมล์ : rcsd.cmu@gmail.com
    เว็บไซต์ : https://rcsd.soc.cmu.ac.th/
    เฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/rcsd.cmu

  • โครงการ WANASEA - Strengthen the Production, Management and Outreach Capacities of Research in the Field of WAter and NAtural Resources in South-East Asia



    ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) เข้าได้เข้าร่วมโครงการ WANASEA Strengthen the Production, Management and Outreach Capacities of Research in the Field of WAter and NAtural Resources in South-East Asia ภายใต้การสนับสนุนจากErasmus+ โครงการดังกล่าวมีมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ จำนวน 14 แห่ง จากทั้งยุโรป (5 แห่ง) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ประเทศเวียดนาม (4 แห่ง) กัมพูชา (3 แห่ง) และไทย (2 แห่ง) เข้าร่วมเป็นเครือข่าย โดยมี Université de Nantes (UN) ประเทศฝรั่งเศส เป็นหน่วยงานประสานงานหลัก โครงการดังกล่าว มีระยะเวลาการดำเนินการ 3 ปี 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ตุลาคม 2560 – มีนาคม  2564 

    โครงการ WANASEA สนับสนุนการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา (staff & student mobility) ในประเด็นด้านการจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านกิจกรรมหลักๆ 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ASEAN Water Platform (AWP) 2) การจัดฝึกอบรมด้านการวิจัย และ 3) การดูงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านการจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ

    1)  การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ASEAN Water Platform (AWP)   กิจกรรมนี้จัดขึ้นทุกปี โดยในปี 2561 จัดที่ Cantho University ประเทศเวียดนาม ปี 2562 จัดที่ National University of Management กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และในปี 2564 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ในแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 80-120 คน เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเครือข่าย อย่างไรก็ตาม สำหรับปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ต้องเลื่อนการจัดกิจกรรมไปเป็นปี 2564 และแต่ละประเทศต้องจัดกิจกรรมในประเทศของตัวเอง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางระหว่างประเทศ สำหรับประเทศไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพจัด AWP2021 ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม 2564 โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 13 คนเข้าร่วม

    2)  การจัดฝึกอบรมด้านการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยให้กับบุคคลากรจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจำนวนผู้เข้าร่วมประมาณ 20 คนในแต่ละครั้ง ประกอบด้วยนการอบรมจำนวน 4 ครั้ง ในหัวข้อต่างๆ เช่น การพัฒนาโครงการวิจัย การบริหารงานวิจัย และการเขียนบทความทางวิชาการ

    3) การดูงานด้านการจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ   หัวหน้าโครงการจากแต่ละสถาบันได้เข้าร่วมกิจกรรมการดูงานเมื่อเดือนตุลาคม 2562 ที่ประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันนี เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การศึกษาวิจัยใหม่ๆ และแนวทางการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การดูงานองค์กรต่างๆ ที่ทำงานในด้านนี้ รวมทั้งเข้าร่วมการประชุม Global Development Network ที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมัน ในส่วนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ หัวหน้าโครงการเป็นผู้เข้าร่วม

    การเข้าร่วมโครงการ WANASEA นี้ เป็นประโยชน์ต่อคณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ทำวิจัยหรือสนใจในประเด็นการจัดกาน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัยจากหลากหลายสาขาและจากมุมมองในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นสร้างเครือข่ายกับนักวิชาการจากประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    โดยหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ โครงการ WANASEA ได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนคณาจารย์จำนวนทั้งสิ้น 5 คน จากสาขาวิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา ภูมิศาสตร์ และสตรีศึกษา และนักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 22 คน ระดับปริญญาเอก 6 คน ระดับปริญญาโท 16 คน จากสาขาวิชาสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์กับศึกษาการพัฒนา ชาติพันธุ์ศึกษากับการพัฒนา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ และสตรีศึกษา

    ข้อมูลเพิ่มเติม :

    โทรศัพท์ : 0 5394 3595
    อีเมล์ : rcsd.cmu@gmail.com
    เว็บไซต์ : https://rcsd.soc.cmu.ac.th/
    เฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/rcsd.cmu

  • โครงการ Humanities across Borders



    โครงการ Humanities across Borders ระยะที่ 2 หรือ HaB 2.0 ได้รับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุนจาก The Andrew W. Mellon Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการต่อจากโครงการในระยะที่ 1 (HaB 1.0) โดยโครงการ HaB ระยะที่ 2 จะมุ่งไปสู่เป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่ 1) การเป็นเครือข่ายระดับนานาชาติที่มีความมุ่งมั่นในคุณค่ามนุษยนิยมในด้านการศึกษา 2) แพลตฟอร์มสำหรับหลักสูตรด้าน "มนุษยศาสตร์ข้ามพรมแดน" ที่มีการสอนและการพัฒนาร่วมกันระหว่างสถาบันสมาชิกในเครือข่าย และ 3) แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นช่องทางสื่อสารและคลังทรัพยากรด้านการเรียนการสอนที่เข้าถึงได้

    โครงการ HaB ดำเนินการภายใต้การประสานงานหลักจาก สถาบัน International Institute for Asian Studies (IIAS) มีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการมาจากหลายหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวการจัดการเรียนการสอนและวิธีการสอน สำหรับองค์ความรู้ที่ถูกละเลยหรือไม่ได้รับการยอมรับ รวมถึงองค์ความรู้ที่มาจากแหล่งชุมชน (Community-based Knowledge) และความรู้นอกระบบ นอกจากจะสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันที่เข้าร่วมโครงการแล้ว โครงการนี้ยังรวมเอากลุ่มนักวิชาการ และไม่ใช่นักวิชาการ (Academics and Non-academics) และกลุ่ม Civil Societies ให้มาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งการดำเนินกิจกรรมโครงการ เพื่อหา “ความเชื่อมโยงเหนือพรมแดน (connect beyond border)”

    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13-21 กุมภาพันธ์ 2563 ศูนย์ภูมิภาคและสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) และศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา (CESD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสถาบัน International Institute for Asian Studies (IIAS) เมือง Leiden ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นในการพัฒนาร่างโครงการ Humanities across Borders (HaB): Asia and African in the World Phase 2.0 ณ โรงแรมคีรีธารา บูติค รีสอร์ท โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดี รศ.ดร.อรัญญา ศิริผล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ หัวหน้าศูนย์ RCSD และ CESD และ ผศ.ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร ศูนย์ CESD เป็นผู้แทนเข้าร่วมหารือ โดยต่อมาได้มีการนำเสนอโครงการและได้รับการอนุมัติทุนสนับสนุนจาก The Andrew W. Mellon Foundation ดังกล่าว



    ข้อมูลเพิ่มเติม :

    โทรศัพท์ : 0 5394 3595
    อีเมล์ : rcsd.cmu@gmail.com
    เว็บไซต์ : https://rcsd.soc.cmu.ac.th/
    เฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/rcsd.cmu

  • โครงการวิจัย Dynamism of land use and livelihoods strategies among highland ethnic minorities in Northern Thailand: Co-producing narratives of change 



    โครงการวิจัย Dynamism of land use and livelihoods strategies among highland ethnic minorities in Northern Thailand: Co-producing narratives of change เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของ Warrick University ประเทศอังกฤษ คือ Asst. Prof. DrMarco Haenssgen กับอาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา จำนวน 3 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ และ Dr. Tawei-Chu  โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเกี่ยวกับพลวัตของการใช้ที่ดินและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือของปรเทศไทย โดยทดลองใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบการเล่าเรื่อง (Story telling) โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants)

    ระยะเวลาโครงการวิจัยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 31 กรกฏาคม 2563 และขยายเวลาต่อถึงวันที่ 31 กรกฏาคม 2564 เนื่องจากปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลไม่สามารถดำเนินการได้ ในระยะเวลาที่กำหนด


    เครดิตภาพ : ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา (Center for  Ethnic Studies and Development: CESD)  
    คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ข้อมูลเพิ่มเติม :

    โทรศัพท์ : 0 5394 3507 ต่อ 101
    อีเมล์ : mass.fss@gmail.com
    เว็บไซต์ : https://soc-dev.soc.cmu.ac.th/
    เฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/SocialScienceAndDevelopment.CMU

  • โครงการวิจัย Listening to voices on the margins: lessons from the COVID-19 crisis for improving access to clean water for drinking and hygiene in the Mekong Region  (VOICES)


    โครงการวิจัย Listening to voices on the marginslessons from the COVID-19 crisis for improving access to clean water for drinking and hygiene in the Mekong Region  (VOICES)Dr. Louis Lebel ผู้อำนวยการ หน่วยวิจัยสังคมและสิ่งแวดล้อม (Unit for Social and Environmental Research: USER) เป็นผู้บริหารแผนงาน และมี รองศาสตราจารย์ ดร.อัมพร  จิรัฐติกร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ระยะเวลาการทำงานเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564

    เครดิตภาพ : United Nation Water


    ข้อมูลเพิ่มเติม :

    โทรศัพท์ : 0 5394 3507
    อีเมล์ : boripat@sea-user.org
    เว็บไซต์ : https://sea-user.org/
    เฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/usercmu/

  • โครงการความร่วมมือทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรสายวิชาการ 
    (Mobility for learners and staff)
    ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Tallin University ประเทศเอสโตเนีย ระหว่างปี พ.ศ. 2562- 2565



    โครงการนี้กำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝ่ายละ 2 คน เป็นระยะเวลาประมาณ 300 วันโดยมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยน  โดยขณะนี้นักศึกษาจากประเทศเอสโตเนียมาเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนกับหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ แขนงการศึกษาการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ) ครบแล้ว 2 คน คือ

    1. Ms. Mari-Ann Utt              รหัสประจำตัวนักศึกษา 620435838

    2. Mr. Achmad Firas Khudi     รหัสประจำตัวนักศึกษา 630435801

    นอกจากนี้ โครงการได้กำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรสายวิชาการฝ่ายละ 2 คน เป็นระยะเวลาประมาณ 46 วัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนบุคลากรยังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากติดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด 19 (COVID-19) จึงไม่สามารถเดินทางได้ แต่กิจกรรมนี้ยังสามารถทำได้ถึงเดือนกรกฏาคม 2565

    ข้อมูลเพิ่มเติม :

    โทรศัพท์ : 0 5394 3507 ต่อ 101
    อีเมล์ : mass.fss@gmail.com
    เว็บไซต์ : https://soc-dev.soc.cmu.ac.th/
    เฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/SocialScienceAndDevelopment.CMU